|
- ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เทศบาลตำบลท่าข้าม เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลท่าข้าม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกาศ ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2516 (ราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 3817 เล่ม 90 ตอนที่ 147 20 พฤษภาคม 2516) และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเป็นเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก 24 กุมภาพันธ์ 2542) โดยให้เรียกชื่อและกำหนดเขตตามชื่อและเขตสุขาภิบาลเดิม มีพื้นที่ 2.30 ตารางกิโลเมตร
เทศบาลตำบลท่าข้าม มีพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่บนเส้น ละติจูดที่ N 16 09.166 และลองติจูด ที่ E 100 47.531 ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอชนแดน ประมาณ 7 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต อบต.ท่าข้าม
ทิศใต้ ติดต่อกับเขต ทต.ศาลาลาย (คลองบุษบง)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต อบต.ท่าข้าม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต อบต.ท่าข้าม
.
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาและเป็นภูเขาเตี้ย ๆ ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก พื้นที่เอียงลาดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณนี้มีคลอง ที่สำคัญ คือ คลองบุษบงไหลผ่านด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของชุมชน คลองสายนี้เป็นแหล่งน้ำระบายน้ำที่สำคัญของชุมชนด้วย
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากพื้นที่มีภูเขาโอบล้อม จึงทำให้อากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัด ในฤดูหนาว ในช่วงฤดูหนาวจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา
1.4 ลักษณะของดิน
พื้นที่บริเวณส่วนใหญ่เป็น ดินดาน หินทราย หินทรายแป้ง หินกรวดมน ฯลฯ มีความเหมาะสมสำหรับการปลูก พืชไร่ บริเวณที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวมีเพียงเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มตามแนวคลองบุษบง
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ 1. คลองบุษบง ไหลมาจากเทือกเขาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ โดยไหลผ่านทางด้านตะวันตก และตอนกลางในแนวตะวันออก – ตะวันตก ผ่านเทศบาลตำบลชนแดนเทศบาลตำบลท่าข้าม และเทศบาลตำบลดงขุย ไหลไปลงแม่น้ำน่านในเขตจังหวัดพิจิตรคลองสายนี้เป็นแหล่งรองรับน้ำจากธรรมชาติที่สำคัญในหน้าแล้ง 2. คลองรางหมาชุมชนที่ 2 , 8 3. สระหลวงชุมชนที่ 8 บ้านโคกพัฒนา
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในตัวเขตเทศบาลตำบลท่าข้ามไม่ถือว่า มีป่าชุมชนเพราะเนื้อที่น้อย ในอดีตอำเภอชนแดนมีป่าไม้อย่างอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันป่าไม้ได้ถูกทำลายลงไปมาก ส่วนใหญ่ยังคงเหลือเฉพาะตามบริเวณเทือกเขาและที่สูง ที่ยังเหลืออยู่เป็นไม้กระยาเลย ไม้สัก ยังคงเหลืออยู่บ้างแต่เป็นจำนวนน้อย ทางราชการได้ปลูกป่าสักทดแทน จำนวน 5 แห่ง พื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่
- ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลท่าข้าม มีเขตการปกครองพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม ประกอบด้วย
มีจำนวน 8 ชุมชน ได้แก่
ชุมชนที่ 1 บ้านน้อยพัฒนา
ชุมชนที่ 2 สะพานขาวร่วมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 3 รวมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 4 ศิริรัตน์พัฒนา
ชุมชนที่ 5 ร่วมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 6 สร้างสรรค์พัฒนา
ชุมชนที่ 7 สามัคคีร่วมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 8 บ้านโคกพัฒนา
โดยมี กำนันตำบลท่าข้าม อยู่ประจำในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม ดูแลด้านมั่นคงและความเป็นปรึกแผ่นของคนในหมู่บ้าน ส่วนนายกเทศมนตรีตำบลท่าข้าม ดูแลด้านการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เกิดแก่ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด
2.2 เขตการเลือกตั้ง
แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 2 เขต ได้แก่
เขตที่ 1 : ชุมชนที่ 1 บ้านน้อยพัฒนา
ชุมชนที่ 2 สะพานขาวร่วมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 3 รวมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 4 ศิริรัตน์พัฒนา
เขตที่ 2 : ชุมชนที่ 5 ร่วมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 6 สร้างสรรค์พัฒนา
ชุมชนที่ 7 สามัคคีร่วมใจพัฒนา
ชุมชนที่ 8 บ้านโคกพัฒนา
- ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ประชากร |
2558 |
2559 |
2560 |
2561 |
ชาย |
1,473 |
1,454 |
1,436 |
1,436 |
หญิง |
1,427 |
1,411 |
1,399 |
1,399 |
รวม |
2,900 |
2,865 |
2,835 |
2,835 |
ครัวเรือน |
918 |
927 |
931 |
931 |
- สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
มีสถานการศึกษาในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร) เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีสัดส่วนครู 1 คน ต่อนักเรียน 40 คน และ 1 ห้องเรียนต่อนักเรียน 40 คน และมีพื้นที่ 50 ไร่ ซึ่งยังรองรับนักเรียนเพิ่มได้อีก และขาดงบประมาณในการพัฒนาระบบการเรียนการสอน และคุณภาพชีวิตของนักเรียนเนื่องจากฐานะทางครอบครัวส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านท่าข้าม สังกัดเทศบาลตำบลท่าข้ามเป็นสถานศึกษาสังกัดเทศบาล สำหรับเด็กก่อนปฐมวัย มีสัดส่วนครู 1 คน ต่อนักเรียน 10 คน
4.2 การสาธารณสุข
มีสถานพยาบาล ในเขตและนอกเขตเทศบาล ดังนี้
- โรงพยาบาลชนแดนตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลฯ ห่างจากตำบลท่าข้ามประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ปัจจุบันให้การบริการสัดส่วน 1 เตียง ต่อประชากร 2,800 คน ทั้งยังสามารถรองรับการขยายตัวของประชากรได้อีก
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองโก ดูแลรับผิดชอบการพยาบาลในเขตตำบลท่าข้ามทั้งหมด
- คลินิกเอกชนอีก 5 แห่ง ในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม
4.3 อาชญกรรม
-ไม่พบ-
4.4 ยาเสพติด
เทศบาลตำบลท่าข้าม มีสถิติข้อมูลผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติด ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (เฉพาะเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม)
ประชากร |
2557 |
2558 |
2559 |
2560 |
บำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด |
5 |
2 |
- |
- |
ฝึกอาชีพผู้รับการบำบัดฟื้นฟู |
5 |
2 |
- |
- |
4.5 การสังคมสงเคราะห์
ในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม มีการช่วยเหลือ การสร้างบ้านเอื้ออาทร ให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ในเขตเทศบาล จำนวนกว่า 9 หลังคาเรือน และให้การดูแลคนพิการมากกว่า 46 คน การช่วยเหลือฉุกเฉินด้วยรถกู้ชีพกู้ภัยของเทศบาล การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อผู้สูงอายุและคนพิการ ทั้งในสำนักงานเทศบาลและพื้นที่สาธารณะภายนอก
- ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
เทศบาลตำบลท่าข้าม มีถนนสายหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 59 กิโลเมตร และไปยังอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 23 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1206 แยกไปทางทิศเหนือไปยังอำเภอวังโป่ง เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร ในเขตชุมชนมีถนน คสล. เชื่อมต่อกับตำบลศาลาลายและถนนคอนกรีตทุกชุมชน การบริการด้วยรถโดยสารระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถโดยสารประจำทางเพชรประเสริฐ สายหล่มสัก-เพชรบูรณ์ - ตะพานหิน - นครสวรรค์ ผ่านเทศบาลฯ ตลอดวัน นอกจากนี้ยังมีรถตู้ประจำทาง กรุงเทพฯ-ท่าข้าม
5.2 การไฟฟ้า
เทศบาลตำบลท่าข้าม ได้รับการบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอชนแดน สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครบทุกครัวเรือน จำนวน 924 ครัวเรือน และมีบริการไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 และในตรอกซอย สำหรับการดูและบำรุงรักษาไฟฟ้าสาธารณะในเขตเทศบาลอยู่ในความรับผิดชอบควบคุมดูแลโดยเทศบาล
5.3 การประปา
การประปาส่วนภูมิภาคอำเภอชนแดน ให้การบริการการประปาแก่ชุมชนโดยมีที่ทำการประปาตั้งอยู่ที่บ้านโคกเจริญ หมู่ที่ 7 ตำบลชนแดน ห่างจากเทศบาลฯ ประมาณ 11 กิโลเมตร ณ อ่างเก็บน้ำบ้านโคกเจริญและแหล่งน้ำดิบในบริเวณใกล้เคียงที่จะทดแทนได้คืออ่างเก็บบ้านกุฏิพระ เมื่อยามขาดแคลนน้ำ
5.4 โทรศัพท์
มีตู้บริการโทรศัพท์จำนวน 4 ตู้ ปัจจุบันมีระบบเครือข่าย 3G โทรศัพท์มือถือใช้ในการติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวาง เสาติดตั้งปล่อยสัญญาณโทรศัพท์ไร้สาย ในเขตตำบลท่าข้าม ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และทรู
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
มีให้บริการไปรษณีย์ย่อยในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม 1 จุด อยู่ที่เขตชุมชนที่ 2 สะพานขาวร่วมใจพัฒนา และที่ทำการไปรษณีย์สาขาอำเภอชนแดน
- ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
มีพื้นที่ทางการเกษตร คิดเป็นจำนวน 2 ใน 5 ของพื้นทั้งหมด บนเนื้อที่ 2.3 ตารางกิโลเมตร
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว และพืชไร่ในบางส่วน
6.2 การประมง
-ไม่มี-
6.3 การปศุสัตว์
-ไม่มี-
6.4 การบริการ
เทศบาลตำบลท่าข้าม ประกอบด้วยกิจกรรมการค้า การบริการ หลายประเภทส่วนใหญ่เป็นร้านค้า ทั้งนี้เนื่องมาจากเศรษฐกิจหลักรอบนอกเป็นการเกษตรซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
พาณิชยกรรมและบริการ
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 6 แห่ง
- ร้านตัดผม/เสริมสวย จำนวน 8 แห่ง
- ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ จำนวน 4 แห่ง
- คาร์แคร์ จำนวน 1 แห่ง
- ร้านปะยาง จำนวน 2 แห่ง
- ร้านกาแฟ จำนวน 4 แห่ง
- ร้านอาหารตามสั่ง จำนวน 15 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
-ไม่มี-
6.6 อุตสาหกรรม
-ไม่มี-
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
เทศบาลตำบลท่าข้ามมีสภาพเศรษฐกิจขนาดเล็ก ตามขนาดพื้นที่ มีตลาดสดของเอกชน 1 แห่ง ตลาดสดของเอกชนอยู่ในสภาพที่ควรมีการปรับปรุง และไม่มีที่จอดรถเป็นสัดส่วนต้องอาศัยจอดรถในเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 ปัจจุบันมีตลาดนัด จำนวน 2 จุด ทุกวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์
มีการประกอบอาชีพที่ ของผู้มีงานทำ คิดเป็นร้อยละดังต่อไปนี้
- รับจ้างทั่วไป/บริการ คิดเป็นร้อยละ 67.06 %
- ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 15.24 %
- เกษตรกร/ทำนา/ทำไร่/เลี้ยงสัตว์/ทำประมง คิดเป็นร้อยละ 6.90 %
- พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน คิดเป็นร้อยละ 4.57 %
- รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 4.57 %
เทศบาลตำบลท่าข้าม ประกอบด้วยกิจกรรมการค้าหลายประเภทส่วนใหญ่เป็นร้านค้า ทั้งนี้เนื่องมาจากเศรษฐกิจหลักรอบนอกเป็นการเกษตรซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
พาณิชยกรรมและบริการ
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 6 แห่ง
- ร้านการเกษตร จำนวน 5 แห่ง
- ร้านอุปกรณ์ไฟฟ้า จำนวน 6 แห่ง
- ร้านวัสดุก่อสร้าง จำนวน 2 แห่ง
- ร้านขายหมู จำนวน 2 แห่ง
- ร้านขายผัก จำนวน 4 แห่ง
- อุตสาหกรรมเครื่องจักร จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าส่ง-ปลีก จำนวน 3 แห่ง
- ร้านค้าย่อย จำนวน 13 แห่ง
- ร้านข้าวสาร จำนวน 4 แห่ง
- ร้านตัดผม/เสริมสวย จำนวน 8 แห่ง
- ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ จำนวน 4 แห่ง
- คาร์แคร์ จำนวน 1 แห่ง
- ร้านปะยาง จำนวน 2 แห่ง
- ร้านกาแฟ จำนวน 4 แห่ง
- ร้านอาหารตามสั่ง จำนวน 1๕ แห่ง
6.8 แรงงาน
ค่าแรงขั้นต่ำ 305 บาท ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ส่วนการจ้างแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม มีไม่ถึง 10 คน ส่วนใหญ่ทำงานในโรงสีข้าว
- เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
ผู้มีอาชีพเกษตรกร/ทำนา/ทำไร่/เลี้ยงสัตว์/ทำประมง คิดเป็นร้อยละ 6.90 % คิดเป็นร้อยละ 6.90 % ของประชากรที่ประกอบอาชีพ มีการทำการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 4.76 % ของคนในเขต
7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร
มีพื้นที่ทางการเกษตร คิดเป็นจำนวน 2 ใน 5 ของพื้นทั้งหมด บนเนื้อที่ 2.3 ตารางกิโลเมตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว และพืชไร่ในบางส่วน
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
แหล่งน้ำทางการเกษตร ได้แก่ 1. คลองบุษบง ไหลมาจากเทือกเขาทางด้านตะวันออกเฉียง เหนือของอำเภอ โดยไหลผ่านทางด้านตะวันตก และตอนกลางในแนวตะวันออก-ตะวันตก ผ่านเทศบาลตำบลชนแดน เทศบาลตำบลท่าข้ามและเทศบาลตำบลดงขุยไหลไปลงแม่น้ำน่านในเขตจังหวัดพิจิตร คลองสายนี้เป็นแหล่งรองรับน้ำจากธรรมชาติที่สำคัญในหน้าแล้ง 2. คลองรางหมาชุมชนที่ 2 , 8 3. สระหลวงชุมชนที่ 8 บ้านโคกพัฒนา และแหล่งน้ำดิบในบริเวณใกล้เคียงที่จะทดแทนได้ คือ อ่างเก็บบ้านกุฏิพระ
7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ มีดังนี้ แหล่งน้ำกินน้ำดื่มสะอาด ให้บริการอยู่ที่สำนักงานเทศบาลตำบลท่าข้าม ส่วนน้ำอุปโภค ได้แก่ 1. คลองบุษบง 2. คลองรางหมาชุมชนที่ 2 , 8 3. สระหลวงชุมชนที่ 8 บ้านโคกพัฒนา 4. อ่างเก็บบ้านกุฏิพระ 5. น้ำบรรจุในถัง 2,500 ลิตร ประจำอยู่ในชุมชน
- ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 99 %และศาสนาคริสต์ อิสลาม คิดเป็นร้อยละ 1 % มีวัดประจำตำบล คือ วัศริรัตนวนาราม
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
งานประเพณี มีดังนี้
- งานวันสงกรานต์และผู้สูงอายุ
- งานแห่เทียนเข้าพรรษา
- งานตักบาตรเทโว
- งานทำบุญกลางบ้าน
งานประจำปี มีดังนี้
- งานงิ้ว
- งานทอดกฐิน
- งานปริวาสกรรม
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
วิถีชีวิตของคนในชุมชนสมัยก่อน ออกรับจ้างทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา การประมง จึงมีการสืบทอดการทำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ คันไถ กลบเหลาไม้ อวน ข้องดักปลา ปืนธนู คันเบ็ด เคียว คราด จอบ เสียม และอื่นๆ อีกมาก โดยปัจจุบันมีเครื่องและอุปกรณ์ ที่ทันสมัยและใช้งานได้อเนกประสงค์มากกว่า มีความคงทนแข็งแรง และสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ จึงทำให้การสืบทอดหรืออนุรักษ์การทำเครื่องมือโบราณเพื่อการประกอบอาชีพ เลือนหายไป
ภาษาประจำถิ่น ใช้ภาษาไทย อาจมีภาษาไทย สำเนียง (หล่ม) หรือ คนพิจิตร หรือ สำเนียงคนบ้าน (กุดจั่น) บ้างในบางส่วน
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
-ไม่ปรากฏพบเห็นเด่นชัด-
- ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
มีแหล่งน้ำที่สำคัญ ที่ไหลผ่านในเขตพื้นที่ ได้แก่ คลองบุษบง
9.2 ป่าไม้
-ไม่ปรากฏพบเห็นเด่นชัด- มีเพียงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน
9.3 ภูเขา
พื้นที่ราบเชิงเขาและเป็นภูเขาเตี้ยล้อม อยู่ทางด้านทิศตะวันออก
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำคลองบุษบง มีปริมาณเพียงพอ สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งทุกๆ ปี โดยเฉพาะเขตพื้นที่เป็นเพียงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน มีการปลูกต้นไม้เพิ่มทุกปีในวันสำคัญต่างๆ
- ด้านสิ่งแวดล้อม
ที่ทิ้งขยะของเทศบาลตำบลท่าข้ามมีที่ตั้งไปทางหมู่ที่ 4 เข้าทางถนนซอยแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 ไปประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 10 ไร่ โดยอยู่นอกเขตเทศบาลการกำจัดขยะใช้วิธีฝังกลบ มีบ่อฝังกลบจำนวน 2 บ่อ ปัญหาอุปสรรคเส้นทางไม่สะดวก เนื่องจากขาดการทำนุบำรุงจากส่วนราชการอื่น ซึ่งสถานที่ดังกล่าวสามารถรองรับปริมาณขยะมูลฝอยทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลอย่างเพียงพอ ปัจจุบันได้นำขยะกำจัดให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ณ ศูนย์จัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร เทศบาลตำบลชนแดน